ระบบโทรศัพท์ IP (IPPBX)



IP-PBX คืออะไร

IP (Internet Protocol) PBX (Private Branch Exchange) IP-PBX เป็นการรวมเทคโนโลยีของ ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ที่ใช้กันทั่วไปรวมเข้ากับระบบ Voice Over IP (VoIP) ทำให้ได้คุณสมบัติของระบบโทรศัพท์ ที่มีความสามารถมากขึ้น สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้กว้างขวางมากขึ้น โดยสามารถสื่อสารกันได้ทั้งบนระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ที่มีอยู่และทางระบบ IP ได้พร้อมๆ กัน

คุณสมบัติที่ทาง IP PBX มีอยู่คือ สามารถเชื่อมต่อกันผ่านทางระบบเครือข่ายหรือ IP ได้ ผู้ใช้สามารถเชื่อมเข้าระบบจากที่ใดก็ได้ที่มีระบบเครือข่าย หรือ Internet เชื่อมต่อถึง รวมถึงการประชุมทางเสียง โดยบวกกับความสามารถในการใช้งานอื่นๆ เช่น Voice Mail, Call Center และอื่นๆ

อุปกรณ์ IP-PBX ประกอบด้วยอะไรบ้าง

การใช้งานระบบ IP PBX จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องมาใช้ร่วมกัน โดยแต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่หรือความสามารถต่างๆ กันออกไป โดยหลักๆ ก็จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่เป็น Server

ทำ หน้าที่คอยจัดการช่องทางการส่งข้อมูลเสียง เปรียบเทียบหมายเลข กับ IP Address โดยสามารถทำให้ระบบโทรศัพท์ โทรติดต่อกันได้ โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ IP Address รวมถึง เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อกับภายนอก (Trunk)

ส่วนที่เป็น Telephony Terminal

เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ ระบบเครือข่าย เพื่อรับข้อมูลเสียง โดยจะมีพอร์ต LAN สำหรับต่อเชื่อมกับ Switching Hub และมีพอร์ตสำหรับ ต่อเชื่อมกับเครื่องโทรศัพท์ปกติ ยกเว้น IP Phone ที่มีเครื่องโทรศัพท์ มาพร้อมในอุปกรณ์แล้ว

ATA (Analog Telephone Adaptor)

โดยมากจะมีอย่างน้อย 1 LAN 1 FXS เพื่อเชื่อมเครื่องโทรศัพท์ เข้ากับระบบ VoIP IP-PBX

VoIP Gateway

คล้ายกับ ATA มาก แต่มีฟังก์ชั่นมากกว่า โดยสามารถต่อเชื่อมกันเองได้ โดยไม่ต้องอาศัย Server เข้ามาร่วม คือ สามารถกำหนด Dial Plan ได้บนตัวเอง เช่น หมายเลข 201 คือ IP 192.168.12.38, หมายเลข 301 คือ IP 192.168.13.38

IP Phone

เป็นอุปกรณ์ที่ นำระบบโทรศัพท์ มาร่วมอยู่ในตัวอุปกรณ์ สามารถใช้ทดแทนโทรศัพท์ เดิมได้ทันที

Softphone

โปรแกรมระบบโทรศัพท์ ต้องอาศัย Computer จำลองให้เป็นเครื่องโทรศัพท์

Analog Asterisk Card/ Digital Card

เป็น ช่องทางในการเชื่อมต่อระหว่างระบบ IP-PBX กับระบบ โทรศัพท์พื้นฐานทั่วไป โดยติดตั้งบนเครื่อง Server


ผังการเชื่อมต่อใช้งานระบบ IP-PBX ภายในสำนักงานหรือบริษัท



คุณสมบัติของตู้ระบบ IP-PBX

  • สามารถบันทึกเสียงการสนทนาได้ ค้นหา และฟังเสียงได้จากหน้าเว็บเพจ
  • สามารถสร้าง IVR ทำเมนู IVR ได้จากหน้าเว็บเพจ
  • รองรับการสังเคราะห์เสียง
  • สามารถสร้างเบอร์ Extension ได้คราวละมากๆ โดยการอิมพอร์ตจากไฟล์ CSV
  • มีโปรแกรมกำจัดเสียงสะท้อน (integrated echo canceller) ทำให้ไม่มีเสียงสะท้อนขณะคุยโทรศัพท์
  • รองรับ Video phone
  • สามารถดีเท็คและติดตั้งการ์ด FXS, FXO, ISDN, E1 ได้โดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะการ์ดเหล่านี้รองรับ Zaptel/DAHDI จากผู้ผลิตชั้นนำ จึงทำให้การเชื่อมต่อกับ PSTN เป็นไปได้ง่ายมาก
  • สามารถทำงานเป็น DHCP Server เพื่อแจกจ่ายไอพีแอดเดรสให้ IP Phone (ที่อยู่ในเน็ตเวอร์คเดียวกัน) ได้
  • มี Operator Panel เป็นกราฟิกดูผ่านเว็บเพจ สำหรับมอนิเตอร์สถานะการทำงานของ Extension, Trunk, Queue ในขณะที่กำลังโทร สามารถโอนสายได้โดยการลาก (drag) แล้ววาง (drop) รวมทั้งการทำ Call parking ได้ด้วย (รับสายแทนจากเบอร์ Extension อื่นได้)
  • มี CDR (Call Detail Report) ไว้ค้นหารายงานการโทรเข้า โทรออก โดยสามารถค้นหาได้ตามวันที่ เบอร์ Extension เป็นต้น
  • มีรายงาน Billing ทำให้รู้ยอดการโทรออกได้ และสามารถค้นหาได้ตามเบอร์ต้นทางและเบอร์ปลายทาง เป็นต้น
  • มีรายงานจำนวนช่องที่ใช้งานในแต่ละช่วงเวลา เรียงตามเทคโนโลยี เช่น SIP, ZAP, IAX, Local และ H.323
  • รองรับ Call Queue ทั้งแบบ Static และ Dynamic Queue เหมาะสำหรับการใช้งานเป็น Call Center

  • สามารถใช้งานเป็น Conference Server ได้ สามารถสร้างห้องประชุมได้ทั้งแบบ Dynamic และ Static สร้างได้จากหน้าเว็บเพจ ในการประชุมรองรับทั้งเทคโนโลยี SIP, IAX, H.323, MGCP, SKINNY เป็นต้น
  • รองรับโคเด็ค ADPCM, G.711 (a/u law), G.722, G.723.1 (pass through), G.729 (ซื้อไลเซ่นเพิ่ม), GSM, iLBC
  • รองรับการ์ดเชื่อมต่อโทรศัพท์แบบอนาล๊อก เช่น FXS/FXO
  • รองรับการ์ดเชื่อมต่อแบบดิจิตอล เช่น E1/T1/J1 ด้วยโปรโตคอล PRI/BRI/R2
  • รองรับการเชื่อมต่อกับบลูธูทจากเครื่องโทรศัพท์
  • รองรับ Caller ID เมื่อเชื่อมต่อกับโทรศัพท์หรือเบอร์โทรศัพท์ที่รองรับโชว์เบอร์
  • รองรับการทำงานแบบหลาย Trunk ทั้ง SIP/IAX/Zaptel/Dahdi/H.323
  • รองรับการทำ Dial Plan และมีความยืดหยุ่นสูงเพื่อการโทรออกผ่านเร้าท์ต่างๆได้ทั้งการโทรเข้าและโทรออก
  • รองรับการทำงานแบบ Follow Me
  • รองรับการโทรเข้าหลายเบอร์พร้อมๆกัน Ring Group
  • รองรับ Paging และ Intercom สำหรับเครื่อง IP Phone ที่รองรับบริการนี้
  • รองรับการทำ Call Routing โดยเงื่อนไขตามเวลา Time Condition
  • รองรับการตั้งค่า PIN เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้โทรออก
  • มี Direct Inward System Access (DISA) สามารถโทรจากสายนอกมายัง IPPBX ได้
  • รองรับ Callback โดยโทรเข้ามายัง IPPBX แล้วระบบจะโทรกลับ


อุปกรณ์ VoIP Gateway ที่ใช้ร่วมกับตู้ระบบ IP-PBX  

          VoIP Gateway คืออุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณจากระบบหนึ่งไปเป็นอีกระบบหนึ่ง เช่น เปลี่ยนจากระบบอะนาล็อกไปเป็นระบบดิจิตอล หรือ เปลี่ยนจากระบบดิจิตอลไปเป็นอะนาล็อก ซึ่งขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มต่างๆของโครงข่ายที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

FXS Gateway

          คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างตู้ IP-PBX กับหัวโฟนที่เป็นระบบอะนาล็อกแบบเดิม ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้กับผู้ใช้ที่ยังอยากจะใช้หัวโฟนแบบเดิมอยู่ โดยอุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยในเรื่องการประหยัดค่าใช้่จ่ายในการซื้อหัวโฟนที่เป็นระบบ IP และเรื่องของการเดินสายสัญญาณใหม่อีกด้วย ซึ่งตัวอุปกรณ์เองสามารถรองรับได้ตั้งแต่ 4 พอร์ต จนถึง 32 พอร์ต หรือมากกว่านั้น






FXO Gateway

          คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างตู้ IP-PBX กับผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานอะนาล็อก เช่น TOT , True ซึ่งเป็นโครงข่ายสายทองแดง ที่ใช้ในการโทรออก โดยอุปกรณ์สามารถรองรับได้ตั้งแต่ 4 พอร์ต จนถึง 16 พอร์ต หรือมากกว่านั้น 


GSM Gateway

          คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างตู้ IP-PBX กับผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยอุปกรณ์นี้สามารถใช้ได้ทั้งในการรับสายเข้าและโทรออกผ่านเลขหมายโทรศัพท์มือถือและถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ยืดหยุ่นสะดวกต่อการใช้งาน ไม่ยึดติดกับข่ายสายสัญญาณภายนอก โดยอุปกรณ์สามารถรองรับได้ตั้งแต่ 1 พอร์ต จนถึง หลายร้อยพอร์ต



             


E1 PRI Gateway

          คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างตู้ IP-PBX กับผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โดย E1 นั้นเป็นวงจรโทรศัพท์พื้นฐานที่ 1 วงจรสามารถมีหมายเลขโทรศัพท์ได้มากถึง 30-100 หมายเลขและนิยมนำหมายเลขที่จำง่ายๆมาทำเป็นหมายเลขนำหมู่ โดยอุปกรณ์ตัวนี้ก็จะแปลงสัญญาณจาก E1 ให้สามารถสื่อสารกับตู้ IP-PBX ได้ โดยสามารถรองรับได้ตั้งแต่ 1 วงจร จนถึงหลายๆวงจร



ไม่มีรายการสินค้ามนหมวดหมู่นี้.